เมนู

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ภูตมิทสูตร 2. กฬารขัตติยสูตร 3. ปฐมญาณวัตถุสูตร
4. ทุติยญาณวัตถุสูตร 5. ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร 6. ทุติยอวิชชา-
ปัจจยสูตร 7. นตุมหากังสูตร 8. ปฐมเจตนาสูตร 9. ทุติยเจตนา-
สูตร 10. ตติยเจตนาสูตร.

อรรถกถาตติยเจตนาสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในตติยเจตนาสูตรที่ 10 ต่อไป.
บทว่า นติ แปลว่า ตัณหา. ก็ตัณหานั้น เรียกว่า นติ เพราะอรรถว่า
น้อมไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นปิยรูป รูปที่น่ารัก. ข้อว่า อาคติคติ
โหติ
แปลว่า คติในการเวียนมาจึงมี. เมื่อกรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิต
มาปรากฏ คติแห่งวิญญาณย่อมมีด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า "จุตูปปาโต
จุติและอุปบัติจึงมี" หมายความว่า เมื่อคติอันเป็นอารมณ์แห่งปฏิสนธิมา
ปรากฏแก่วิญญาณ มีอยู่ จุติ กล่าวคือการเคลื่อนจากภพนี้จึงมี. อุปบัติ
กล่าวคือการบังเกิดขึ้นในภพนั้นจึงมี. ชื่อว่าจุติและอุปบัติ (การตายและ
การเกิด) นี้จึงมี. ระหว่างตัณหากับคติในการเวียนมา จึงเป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นสนธิอันหนึ่งในพระสูตรนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบตติยเจตนาสูตรที่ 10

จบอรรถกถากฬารขัตติยวรรคที่ 4

คหบดีวรรคที่ 5



1. ปฐมปัญจเวรภยสูตร



ว่าด้วยภัยเวร 5 ประการ



[151] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านอนาถ-
บิณฑิกคฤหบดี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใดแล
ภัยเวร 5 ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบ
ด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ 4 อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ
อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในกาย
หน้า.
[252] ภัยเวร 5 ประการสงบแล้วเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี
บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ
หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้พ้นขาดจากปาณาติบาต สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ